การรีเทนชั่นบ้านคืออะไร?
รีเทนชั่น คือ เครื่องมือทางการเงินที่ธนาคารนำมาใช้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ เพื่อบรรเทาและเพิ่มสภาพคล่องในการชำระหนี้ สำหรับใครที่กำลังวางแผนซื้อบ้านด้วยการกู้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินจะช่วยให้เราสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ดียิ่งขึ้น แต่โดยส่วนใหญ่หากพูดถึงการปรับโครงสร้างหนี้สำหรับการกู้ซื้อบ้าน เรามักจะคุ้นเคยกับคำว่ารีไฟแนนซ์กันมากกว่า คำว่ารีเทนชั่นอาจจะเป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยคุ้นเคยสักเท่าไร ดังนั้นหากไม่อยากเลือกเครื่องมือผิดในการปรับโครงสร้างหนี้ โปรดติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการรีเทนชั่นจากเนื้อหาต่อไปนี้ พร้อมเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียและความแตกต่างระหว่างการรีไฟแนนซ์
การรีเทนชั่นบ้านคืออะไร
การรีเทนชั่นบ้าน คือ การติดต่อขอประนีประนอมลดดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิม
เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและความสามารถใจการชำระหนี้เงินกู้ เพราะโดยปกติแล้วดอกเบี้ยเงินกู้จะมีการคิดในอัตราคงที่ช่วง
3 ปีแรก หลังจากนั้นจะมีการปรับเป็นดอกเบี้ยลอยตัวอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยอื่นๆ
เพราะฉะนั้นหากใครที่ได้มีการชำระดอกเบี้ยเงินกู้มาเกิน 3 ปีแล้ว และไม่อยากจ่ายดอกเบี้ยแพง
เราสามารถติดต่อกับธนาคารปัจจุบันที่ขอสินเชื่อเพื่อทำการรีเทนชั่นปรับโครงสร้างหนี้ได้
ประโยชน์ของการรีเทนชั่นบ้าน
การรีเทนชั่นช่วยให้ลดภาระการชำระดอกเบี้ยเงินกู้จากลูกหนี้ได้ในระดับหนึ่ง
เพราะในบางสถานการณ์ดอกเบี้ยเงินกู้อาจพุ่งสูงถึง 6%-8%
เลยก็เป็นได้หากเลยช่วง 3 ปีแรกแล้ว สามารถพูดได้อย่างเต็มปากเลยว่าการรีเทนชั่นเปรียบเสมือนตัวเลือกที่จะช่วยให้เราทุกคนประหยัดเงินในกระเป๋านั่นเอง
โดยปกติอัตราลดดอกเบี้ยจากการทำรีเทนชั่นจะอยู่ที่ 0.25%-0.50% ถึงแม้จะดูไม่มากแต่ก็เป็นทางเลือกที่ช่วยให้เราจ่ายถูกลงได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
รีเทนชั่น ใช้เอกสารอะไรบ้าง
คุณอาจกำลังคิดว่าการยื่นเรื่องขอรีเทนชั่นกับธนาคารนั้นต้องใช้เอกสารเยอะแยะและวุ่นวายเอามากแน่ๆ
ขอบอกเลยว่าไม่ใช่เลย เพราะการรีเทนชั่นเราไม่จำเป็นต้องเตรียมเอกสารเยอะเหมือนการขอรีไฟแนนซ์แต่อย่างใด
เนื่องจากเป็นการขอปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารเดิม จึงมีข้อมูลเก่าของผู้กู้อยู่แล้ว
สิ่งที่ต้องเตรียมมีหลักๆอยู่ 3 อย่างเท่านั้น คือ
- 1. สัญญาเงินกู้
- 2. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา
- 3.
บัตรประชาชนผู้กู้
พร้อมสำเนา เป็นต้น
หากเตรียมเอกสารครบแล้วสามารถเข้าไปติดต่อที่ธนาคารที่เราขอสินเชื่ออยู่ในปัจจุบันได้เลย
พร้อมแจ้งทำเรื่องรีเทนชั่น ธนาคารจะทำการขอเอกสารที่ได้แจ้งๆปข้างต้น
พร้อมดำเนินการให้ภายในระยะเวลา 7 วัน
ค่าใช้จ่ายสำหรับการขอรีเทนชั่น
การรีเทนชั่นจะมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 1%-2% ของวงเงินกู้ทั้งหมด กล่าวคือถ้าหากวงเงินกู้ทั้งหมดของคุณอยู่ที่ 1.5 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมสำหรับรีเทนชั่นอยู่ที่ 1.5% ค่าธรรมเนียมรีเทนชันที่ต้องชำระจะเท่ากับ (1,500,000 x 1.5%) = 22,500 บาท ซึ่งเราสามารถนำวิธีการคำนวณข้างต้นนี้ไปประมาณค่าใช้จ่ายคร่าวๆสำหรับการรีเทนชั่นได้
ความแตกต่างของการรีไฟแนนซ์และการรีเทนชั่น
เราอาจจะพอคุ้นเคยกับการรีไฟแนนซ์มาบ้างแล้ว
ซึ่งก็คือการทำเรื่องย้ายสินเชื่อจากธนาคารเก่าไปธนาคารใหม่หลังจากผ่อนชำระดอกเบี้ยมาครบ
3 ปีแล้ว และอยากจะได้ดอกเบี้ยโปรโมชั่นกับธนาคารอื่นที่มีดอกเบี้ยที่ถูกกว่า
แต่สำหรับการรีเทนชั่นนั้นจะเป็นการขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมที่กู้อยู่ โดยสามารถขอลดได้อยู่ที่
0.25%-0.50% ความแตกต่างของทั้งสองเครื่องมือนี้คือ
อัตราดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และรายละเอียดการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อขอยื่นเรื่องกับธนาคารที่แตกต่างกันมากพอสมควร
ความถี่ในการทำรีเทนชั่น
หากผู้กู้มีประวัติการชำระเงินที่ขาวสะอาดไม่ผิดนัดชำระหนี้จะถูกจัดเป็นลูกหนี้ชั้นดี
ซึ่งทุก 3 ปีทางธนาคารจะอนุญาตให้ผู้กู้ชั้นดีเหล่านี้สามารถติดต่อขอรีเทนชั่นได้
แต่ในบางกรณีถ้าหากวงเงินกู้ไม่อยู่ในเงื่อนไขของการรีเทนชั่นธนาคารอาจไม่อนุมัติให้ทำ
ดังนั้นหากต้องการรีเทนชั่นแนะนำให้ติดต่อธนาคารที่คุณขอสินเชื่อเพื่อขอคำแนะนำการทำรีเทนชั่น
รีเทนชั่นกับรีไฟแนนซ์เลือกอันไหนดีกว่ากัน
หากต้องการตัดสินใจปรับโครงสร้างหนี้ ต้องมองภาพรวมยอดค้างชำระที่เราผ่อนอยู่กับธนาคารก่อน
โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่ผ่อนงวด พร้อมทดลองคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าวๆจากการทำรีเทนชั่น
และรีไฟแนนซ์ เพื่อทำการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียว่าตัวเลือกไหนมีความคุ้มค่ามากกว่ากัน
ดังนั้นการตัดสินใจเลือกรีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์จึงจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้
และยอดเงินกู้ของแต่ละคนนั่นเอง
บทสรุป
การวางแผนซื้ออสังหาริมทรัพย์ไม่ได้สำคัญแค่การวางแผนก่อนซื้อเท่านั้น
แต่การวางแผนการชำระสินเชื่อตลอดระยะเวลาการผ่อนก็สำคัญไม่แพ้กัน การทำความเข้าใจเครื่องมือทางการเงินอย่างรีเทนชั่น
และการรีไฟแนนซ์จะช่วยให้เราสามารถวางแผนเพิ่มสภาพคล่อง
และลดภาระการชำระหนี้ได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามเครื่องมือทั้งสองอย่างนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน
เราจึงจำเป็นต้องเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินที่กล่าวมานี้ให้เหมาะสมตามสถาการณ์ของตนเอง
เพื่อสร้างผลประโยชน์และความคุ้มค่าสูงสุด